เกี่ยวกับสาขาวิชา

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Food Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Food Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Food Technology)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยีทางอาหารในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งรับผิดชอบด้านการวางแผนการผลิต การควบคุมการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ การสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร
  2. นักวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยีทางอาหารในองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร การกำหนดมาตรฐานอาหาร และการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อาจารย์และนักวิจัย
  4. ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร/อาชีพอิสระ

ลักษณะวิชาที่ศึกษา

  1. เป็นสาขาวิชาที่ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง ดังต่อไปนี้
  2. จุลชีววิทยาอาหาร ศึกษาจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย จุลินทรีย์ทำให้อาหารเป็นพิษ การตรวจสอบและจำแนกจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหาร การใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการแปรรูปและถนอมอาหาร และมาตรฐานทางจุลชีววิทยาของอาหารและผลิตภัณฑ์
  3. เคมีอาหาร ศึกษาคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีของอาหาร การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีวเคมีของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อันเนื่องจากกระบวนการแปรรูป ศึกษาคุณสมบัติของสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร การตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบและสารอาหารตลอดจนสารพิษตกค้างในอาหาร
  4. การแปรรูปอาหาร ศึกษาหลักการถนอมอาหาร การเลือกและเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูปวัตถุดิบให้อยู่ในรูปที่ต้องการ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร ได้แก่ การใช้ความร้อน การทำให้เข้มข้น การทำแห้ง การแช่เยือกแข็ง การใช้พลังงานไมโครเวฟ การอาบรังสี การใช้แก๊ส และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร
  5. วิศวกรรมอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพของอาหาร ศึกษาสมดุลมวล สมดุลพลังงาน การไหลของของไหล กระบวนการแยก การถ่ายโอนความร้อนและการถ่ายโอนมวล ตลอดจนปฏิบัติการเฉพาะหน่วยของการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
  6. การควบคุมและประกันคุณภาพ ศึกษาวิธีการตรวจวัดคุณภาพ และมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร การใช้สถิติในการควบคุมคุณภาพ การจัดระบบการประกันคุณภาพ และการวางแผนการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
  7. การจัดการโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารและการจัดองค์กรของอุตสาหกรรมอาหาร การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและผลกำไร การวางแผนการผลิต การควบคุมและการเพิ่มผลผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง แรงงานสัมพันธ์ การจัดการเรื่องความปลอดภัย และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักร กฎหมายเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
  8. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการตลาด ศึกษานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์อาหาร การวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างสูตรอาหาร การทดสอบตลาด การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภค การดำเนินกลยุทธทางการตลาด และการจัดโครงสร้างสายงานด้านการตลาด

คุณสมบัติของผู้ศึกษา

นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ต้องมีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์) เป็นอย่างดี ควรมีผลการเรียนวิชาเหล่านี้สูงกว่าระดับคะแนนเฉลี่ยคือ C+ ขึ้นไป นอกจากนี้ผู้สมัครควรมีผลการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ในระดับดี

หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวม  ไม่น้อยกว่า 170 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                              ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

– กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป                                                    15 หน่วยกิต

– กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ                                                  15 หน่วยกิต

– กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไปแบบเลือก                                      8 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ                                       ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต

– กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                               55 หน่วยกิต

– กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ                                                 47 หน่วยกิต

– กลุ่มการวิจัย                                                                   6 หน่วยกิต

– กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ                                                     7 หน่วยกิต

– กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคปฏิบัติ                                    9 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                                   ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต

 

อาจารย์ภากร พันธุพาน
ตำแหน่ง หัวหน้าสาขาวิชาพืชศาสตร์

เอกสารที่เกียวข้อง

Facebook

สาขาวิชาพืชศาสตร์

ภาพกิจกรรม

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์

อาจารย์บงกชไพร ศรพรหม

อาจารย์วิมล พรหมทา

ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา

ผศ.ดร.เสาวคนธ์ เหมวงษ์

ผศ.ดร.โสรัจจ์ ประวีณวงศ์วุฒิ

อาจารย์นิคม ศรีหะมงคล

อาจารย์ ดร.ชัชวาล แสงฤทธิ์

อาจารย์ ดร.พรทิพย์ พุทธโส

อาจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ ผลเจริญ